หน่วยที่1

( เนื้อหาหน่วยที่ 1 E.Q.บริหารอารมณ์อย่างฉลาด )
E.Q. บริหารอารมณ์อย่างฉลาด
E.Q. กับการทำงาน
การทำงานนั้นนอกเหนือจากการมีความรู้ความสามารถแล้วยังต้องมี E.Q. ที่ดีอีกด้วย เพราะในการทำงานอะไรก็แล้วแต่ย่อมจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น มีการประสานการทำงานร่วมกันเป็นหน่วยเป็นฝ่าย หากเรามีเพียงความรู้ความสามารถแต่ขาดทักษะทาง E.Q.ที่ดี งานก็คงออกมาอย่างมีประสิทธิภาพทำให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นเสื่อมถอยลงได้
หากคุณมีระดับของ E.Q.สูง และสามารถนำ E.Q.ไปใช้ในการทำงานได้จะทำให้คุณเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี มีความคิดความรู้สึกที่ดีที่จะผลักดันตัวเองไปสู่จุดมุ่งหมายที่ฝันไว้ได้ มีความสามรถในการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขอื่นๆของหน่วยงานหรือองค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีความยืดหยุ่น จะทำให้คุณสามารถรับมือกับปัญหาหรือความขัดแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการำงานได้อย่างเป็นระบบมีเหตุผลชาญฉลาดและเป็นไปได้ด้วยจิตใจที่สงบเยือกเย็น ไม่เครียด และสามารถเป็นผู้ช่วยหรือผู้เข้าไปทำหน้าที่ประสานความขัดแย้งระหว่างพนักงานคนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและความยุติธรรม
ทำให้คุณเข้าใจถึงความต้องการของตัวเองอย่างแท้จริง รู้ว่าตนเองต้องการสิ่งใดและจะดำเนินการอย่างไรจึงจะได้มา รวมถึงยังมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ประสานงานกับพนักงานคนอื่นๆเจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า ได้อย่างมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
มองโลกในแง่ดี: จุดเริ่มต้นของความสุขในการทำงาน
การมองโลกในแง่ดีนั้นเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะการมองโลกในแง่ดีเป็นการมองว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวที่งดงาม มีความสนุกสนาน มีความปลอดภัย ดังนั้นคนที่มองโลกในแง่ดีจึงเป็นผู้ที่มีความสุขปราศจากความเครียด มีกำลังกายกำลังใจในการคิดสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดกับชีวิตของตนและส่วนรวม มีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีคุณค่า มีความสำคัญรวมไปถึงยังเห็นคุณค่า
และความสำคัญของสิ่งที่ตนทำ โดยเฉพาะในเรื่องการงาน
          ส่วนคนที่มองโลกในแง่ร้ายก็มักจะเห็นว่าชีวิตนี้มีแต่ความน่าเกลียดน่าชังเต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน มีแต่ผู้คนที่ไม่ดีมีจิตใจชั่วร้ายอยู่เต็มพื้นที่ และความคิดเหล่านี้ก็จะวิ่งวนอยู่ในหัวของคนผู้นั้นยากที่จะลบล้างออกไปได้ ทำให้วันทั้งวันไม่ค่อยได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันสักเท่าไหร่ นอกจากคิดหวาดระแวงกังวลว่าจะมีเรื่องร้ายๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง
          ลองสำรวจตัวเองดูว่าคุณนั้นเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายบ้างหรือไม่ เราสามารถกำจัดความคิดที่ชั่วร้ายนั้นออกไปได้ โดยให้คุณพยายามบอกกับตัวเองว่าคุณนั้นสามารถทำได้ คุณสามารเปลี่ยนแปลงตัวเองและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ได้และทำให้อะไรดีขึ้น
          คุณอาจจะเป็นคนที่ยอมจำนนต่อทุกสิ่ง เพราะคิดว่าทุกสิ่งได้ถูกกำหนดไว้หมดแล้ว คุณเป็นผู้ถูกกระทำ คุณเป็นเหยื่อที่ถูกทำร้ายโดยที่ไม่สามรถสู้หรือดิ้นรนให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ คุณอาจคิดเพียงแค่ว่าคุณจะพยายามสักเท่าไหร่ก็ตามแต่สิ่งร้ายๆก็ยังเกิดกับคุณอยู่ดี และคุณเองก็จะต้องเป็นฝ่ายแพ้อยู่ร่ำไป และมักโทษว่าสิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้นเป็นความคิดของผู้อื่นอยู่เสมอ
          การมองโลกในแง่ร้ายจึงมักเป็นสาเหตุที่ทำให้ใครหลายคนกลาเป็นผู้พ่ายแพ้แม้ยังไม่ลุกขึ้นสู้ ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรให้ดีขึ้นด้วยแม้ความจริงจะมีหนทางอยู่ก็ตาม
          ตรงข้ามกับคนที่มองโลกในแง่ดีที่จะเป็นคนมีความมั่นใจ คิดว่าตนสามารถแก้ปัญหาหรือควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เขามักจะมองปัญหาว่าเป็นความท้าทายที่น่าทดลอง เป็นเรื่องสนุกสนานของชีวิตอีกอย่างหนึ่ง และพยายามก้าวข้ามปัญหาต่างๆไปให้ได้เพื่อบรรลุความมุ่งหมายที่ได้ตั้งใจไว้โดยไม่หวาดกลัวหรือย่อท้อ
          นอกจากนี้คุณยังคงมีสำนึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นด้วย โดยการแสดงออกนั้นจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดและตรงไปตรงมาที่สุด คุณควรรักตัวเองและรักผู้อื่นเช่นกัน มอบความสัมพันธ์ที่จริงใจให้กับผู้อื่นโดยที่ตัวเองไม่รู้สึกอึดอัดหรือขัดเขิน ให้คุณสร้างความสัมพันธ์ที่บริสุทธิ์กับคนในที่ทำงานไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร เจ้านาย เพื่อน ลูกน้อง พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย แมสเซนเจอร์ คนขายของในบริษัท ฯลฯให้เหมือนกับว่าทุกคนเป็นคนในครอบครัวของคุณเอง เชื่อแน่ว่าความรู้สึกบริสุทธิ์จริงใจที่ส่งออกไปจะทำให้คุณได้รับความรู้สึกแบบเดียวตอบกลับมาไม่น้อยทีเดียวและความรู้สึกตอบกลับที่ดีๆเหล่านั้นก็จะกลายเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนการงานของคุณให้ดำเนินไปด้วยดี คุณเคยสังเกตไหมว่าทำไมพนักงานบางคนถึงได้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่ของคนทั้งบริษัทกันนัก ทั้งที่เขาก็ไม่ใช่คนนี่มีหน้าตาหรือบุคลิดดี เป็นแค่พนักงานชั้นล่างๆด้วยซ้ำ และไม่มีความสามารถโดดเด่นกว่าใคร
          แต่เมื่อสังเกตดีๆ คุณจะรู้ว่าคนทั้งบริษัทรักใคร่เขาคนนั้นก็เพราะความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์แบบโยงใยเครือข่ายทั่วทั้งบริษัทนั่นเอง เรียกได้ว่าสามรถพูดคุยเข้านอกออกในได้ทั้งบริษัททุกแผนก จะขอความช่วยเหลือจากแผนกไหนก็ได้หมด ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าแค่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจะให้ผลถึงเพียงนี้

    แหล่งที่มา:กร ศิริโชควัฒนา.(2551).E.Q.บริหารอารมณ์อย่างฉลาด.พิพ์ครั้งที่5.กรุงเทพ:ซิซินี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น