หน่วยที่ 3

( เนื้อหาหน่วยที่ 3 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน)
                        วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
1.เปิดใจให้กว้างมากขึ้น
เพื่อที่จะได้มีทางเลือกใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในการใช้แก้ปัญหาต่างๆ โดยอาจหาทางเลือกเหล่านี้ได้จากสื่อที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต คำแนะนำของเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัว
          2.มีความยืดหยุ่น
          เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงสิ่งต่างๆ ด้วยแนวทางอื่นๆที่ไม่เคยใช้มาก่อน และให้คุณบอกกับตัวเองด้วยว่าจะทำอะไรที่แตกต่าง แต่สามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ หรือจะทำอย่างไรหากสถานการณ์ที่เป็นอยู่เกิดเปลี่ยนแปลงไป
          3.มองโลกในแง่ดีเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
          ให้คุณคิดว่าปัญหาเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของตนเองและความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นและอาจสร้างปัญหานั้นเป็นความท้าทายมากกว่าความเครียดที่ได้รับ
4.หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะในองค์กรของตัวเอง เพื่อที่จะสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือหากมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะได้เห็นช่องทางในการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
5.หมั่นศึกษาและขอคำแนะนำ
ได้แก่วิธีการในการแก้ปัญหาของบุคคลอื่นที่มีความสามารถอาจไม่ต้องเป็นคนที่ยิ่งใหญ่หรือมีชื่อเสียงอะไร เขาคนนั้นอาจเป็นลูกน้องตัวเล็กๆ บางคนด้วยซ้ำ แต่อาจมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีพอๆ กับผู้บริหารระดับสูงบางคนเสียอีก
6.ทำงานเป็นทีม
หากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหนักหนาเกินกว่าที่คุณจะรับมือคนเดียวไหว ก็อาจใช้วิธีการฟอร์มทีมที่มีความรู้ความสามารถขึ้นมาช่วยแก้ไข และควรวางจุดมุ่งหมายของทีมให้อยู่ในทิศทางที่ไปด้วยกันได้เพื่อให้สอดประสานความร่วมมือกัน
7.แก้ปัญหาให้เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน
ให้เรียงลำดับจากสิ่งที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนไปสู่สิ่งที่สามารถรอการแก้ไขได้ การแก้ไขปัญหาแบบเหวี่ยงแหครอบคลุมทีเดียวหมดนั้นอาจทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าที่ควร คุณจึงควรกำหนดแผนการในการแก้ปัญหาเป็นข้อๆ และเป็นลำดับเรื่องราวจะดีที่สุด
8.ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก
ควรเพิ่มความรู้สึกสนุกสนานและอารมณ์ขันให้แก่ปัญหาที่คุณแก้ไขอยู่ ด้วยการทำปัญหาให้เป็นเหมือนเกมเกมหนึ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกสนุกสนานและตื่นเต้นเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ปัญหานั้นใกล้จะได้รับการคลี่คลายและคุณเป็นฝ่ายชนะ การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเครียดจากการแก้ไขปัญหาให้คุณได้อย่างมากมาย
9.ถอยหลัง ก้าว


หากคุณรู้สึกว่าตอนนี้อ่อนล้ากับปัญหาที่รุมเร้าและยังไม่สามารถแก้ไขได้ในขณะนี้ ขอให้คุณถอนตัวเองออกมาสักพักเพื่อเป็นการผ่อนคลายตัวเอง อาจหากิจกรรมที่สามารถผ่อนคลายความเครียดและเหนื่อยล้าของคุณได้เช่น การฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ นอนหลับ เดินเล่น ปลูกต้นไม้ ช้อปปิ้ง ทำงานบ้าน ฯลฯ

แหล่งที่มา:กร ศิริโชควัฒนา.(2551).E.Q.บริหารอารมณ์อย่างฉลาด.พิพ์ครั้งที่5.กรุงเทพ:ซิซินี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น