หน่วยที่ 2

( เนื้อหาหน่วยที่ 2  E.Q.สำหรับคนทำงาน )
                          E.Q. สำหรับคนทำงาน
          การที่จะเป็นผู้ที่มี E.Q. สูงนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและฝึกฝน เพื่อให้เป็นผู้ที่มีทั้งความพร้อมความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์ โดยมีเคล็ดลับดังนี้
          1.ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       เพราะการทำงานที่ดีย่อมต้องการบรรยากาศที่ดีในการทำงานเรื่องของอารมณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการทำงานในองค์การใหญ่ๆ ที่ต้องการความร่วมมือของทุกฝ่าย
          วิธีการที่จะใช้จัดการกับอารมณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ที่มาติดต่องานนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ อาจทำการขอโทษก่อนที่จะอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์แย่ๆที่ทำให้อีกฝ่ายต้องโมโห อธิบายอย่างตรงไปตรงมาและบอกคนผู้นั้นว่า ความโกรธของเขาทำให้เกิดเรื่องแย่ๆ แค่ไหน และมีผลกระทบอะไรต่อการงานหรือองค์กรบ้าง อาจใช้การหยุดพักในช่วงเวลาสักช่วงเพื่อให้อีกฝ่ายคลายความโกรธลงแล้วค่อยติดต่อกลับไปใหม่ หรือหากมีทางเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้คุณก็ควรทำไปก่อน
          ในส่วนตัวของคุณเองนั้นอาจมีความขุ่นข้องไม่น้อย เมื่อไม่สามารถรับมือกับความโกรธของอีกฝ่ายได้อย่างเต็มที่ คุณอาจสงบสติอารมณ์รับมือกับความโกรธของอีกฝ่ายได้อย่างเต็มที่ ควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิดหรือโกรธตามไปกับอีกฝ่าย เมื่อช่วงเวลาเหล่านี้ผ่านพ้นไปแล้วคุณสามารถรับมือหรือจัดการได้ในระดับหนึ่ง ก็ลดความเครียดให้กับตัวเองโดยการไปพักผ่อน ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ เดินเล่นหรือทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้
         
2.มีความยืดหยุ่น
          การยืดหยุ่นให้เป็นในการทำงานนั้นจะทำให้คุณไม่ตกอกตกใจกับความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นในการทำงาน และสามารถแก้ไขสถานการณ์อันยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          การยืดหยุ่นนั้นดีต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก เพราะจะทำให้คุณมองปัญหาอย่างรอบด้าน ทำการสำรวจปัญหาว่ามีส่วนไหนที่สามารถแก้ไขได้ง่ายสุด มีความพร้อมและใจที่เปิดกว้างที่จะแก้ปัญหานั้นๆ และใช้เรี่ยวแรงรวมถึงความสามารถได้อย่างถูกทิศทาง
          3.มีความสามารถในการสื่อสารที่ดี
          เพราะการสื่อสารที่ดีย่อมหมายถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยการศึกษาถึงวิธีในการติดต่อสื่อสาราที่มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น แบบเป็นกันเอง แบบเป็นทางการ แบบสั่งการ แบบโน้มน้าวจิตใจ ซึ่งการสื่อสารแต่ละชนิดนั้นจะมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองให้คุณเลือกข้อดีของการสื่อสารหลากหลายรูปแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเข้ากับสถานการณ์และบุคคลด้วย
          นอกจากนี้คุณยังต้องเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์และแสดงความรู้สึกที่ดีเช่น หากคุณอยากจะเตือนเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่มาสายประจำให้ปรับปรุงตัวเอง คุณอาจใช้คำพูดที่ว่าหากเขามาสายเป็นประจำจะทำให้หัวหน้างานเข้าใจว่าเขาเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบ ทั้งที่เขาอาจจะมีปัญหาส่วนตัวก็ได้
          การบอกกล่าวเพื่อนร่วมงานเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เขาไม่โกรธคุณแล้วยังจะรู้สึกซาบซึ้งใจในความห่วงใยของคุณอีก แต่ถ้าหากคุณพูดออกไปแบบไม่ไว้หน้าเพื่อนเช่น การบอกว่าหากเขามาสายบ่อยๆแบบนี้อีก ระวังจะโดนไล่ออกไม้รู้ตัว รับรองได้เลยว่าคุณมีหวังได้รับการตอบกลับแบบไม่เป็นมิตรจากเพื่อนคนนี้แน่นอน
          และสุดท้ายที่คุณสามารถทำได้ก็คือการเป็นผู้ฟังที่ดีนั่นเองเพราะหากคุณเป็นแค่ผู้พูดที่ดีแต่เป็นผู้ฟังที่ใช้ไม่ได้ ก็เหมือนกับการพูดโดยไม่ฟังใคร ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือความรู้สึกของผู้อื่นเลย

          การเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นก็คือการตั้งใจฟังด้วยความจริงใจ การตั้งใจฟังใครสักคนนั้นจะทำให้ผู้พูดรับรู้ถึงความห่วงใยและจริงใจของคุณทำให้เขารู้สึกว่าคุณเป็นมิตรและน่าคบหา เขาจะให้การยอมรับในตัวคุณยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันเขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้รับการใส่ใจและยอมรับนับถือในตัวคุณเช่นกัน เทคนิคที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีคือพยายามฟังอย่างตั้งใจและจับประเด็นให้ได้อาจจะถามคำถามยิงไปบ้างเพื่อเป็นการร่วมสนทนา และทำให้ผู้พูดรับรู้ว่าคุณตั้งใจฟังเขาจริงๆ
   
   แหล่งที่มา:กร ศิริโชควัฒนา.(2551).E.Q.บริหารอารมณ์อย่างฉลาด.พิพ์ครั้งที่5.กรุงเทพ:ซิซินี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น